Skip to main content

Posts

เมนูหวานไม่เบา ที่ เบาหวาน ต้องระวัง

 “ โรคเบาหวาน ” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คุกคามสุขภาพของคนทั่วโลก ทำให้ 3 องค์กรระดับโลกอย่าง สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติ (UN) ร่วมมือกันกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน “เบาหวานโลก” (World Diabetes Day) ซึ่งตรงกับวันเกิดของ Frederick Banting ผู้ค้นพบอินซูลินรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเลือกวันนี้เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา นอกจากนี้ยังต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของโรคเบาหวาน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ติดหวานของคนในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่เมนูที่แฝงไปด้วยน้ำตาลและความหวานอย่างคาดไม่ถึง จะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ *หมายเหตุ* – ปริมาณน้ำตาลส่วนใหญ่ถูกเติมลงไปต้ังแต่กระบวนการปรุงประกอบอาหาร ดังน้ันไม่ควรปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือเครื่องปรุงที่มีรสชาติหวานเพิ่มเติมลงไป – ในกรณีที่เลือกรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลและอาหารมีรสชาติหวานอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงเครื่่ื
Recent posts

วิธีป้องกันตนเองเบื้องต้นจากไวรัสโคโรนา

 “ไวรัสโคโรนา 2019” หรือ “COVID-19 ที่กำลังระบาดหนักอยู่ขณะนี้อย่างแน่นอน กลุ่มไวรัสโคโรนานั้น ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 ทำให้เกิดไข้หวัดทั่วไป แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก ล่าสุดพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ต่างจากที่เคยเจอมาก่อน มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง ถึงรุนแรง และมีการแพร่กระจายเชื้อได้ โคโรนาคืออะไร? โคโรนาคือเชื้อไวรัสที่มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ พบครั้งแรกกลางทศวรรษที่ 1960 โดยมีเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่ 4 สายพันธุ์ใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ตัวที่ระบาดมากที่สุดคือ SARS-CoV พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งได้ระบาดไปทั่วโลกและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ต่อมาพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ MERS-CoV เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศซาอุดิอาระเบีย ในแถบตะวันออกกลาง จนกระทั่งล่าสุดพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน โดยบริเวณที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและคาดว่าน่าจะเป็นรังของโรค  คือ  ตลาดอาหารทะเลและสัตว์หายากในเมือง  ซึ่งได้แพร่กระจายไปในหลายเมืองในประเทศจีน  และหลายประเทศ  เช่น

ไข้หวัดใหญ่ วายร้ายทำลายสุขภาพ

"ไข้หวัดใหญ่" เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โรคไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัดแต่อาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้ อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ โดยมากเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะมีการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) รับประทาน หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง และสงสัยว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่ โดยมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง สามารถฉีดได้ทุกเพศทุก

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน หรือวันละ 8 คน มีผู้เสียชี วิตวันละ 6 คน หรือ 2,195 คน/ปี โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรค สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น เลี่ยงอาหารเค็ม ปิ้งย่างที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทให่เกิดมะเร็ง รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หากมีอาการปวดท้องเร

กระชายดำ กับ สมรรถภาพเพศชาย

 หลายคนอาจเคยได้ยิน # สรรพคุณของกระชายดำ # สมุนไพรไทย ขึ้นชื่อด้านเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง # เพิ่มสมรรถภาพเพศชาย อีกทั้งอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิดได้ เพราะในกระชายดำมีสารฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ฟีนอลิก และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งคาดว่าส่วนประกอบเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการนำกระชายดำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรหลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นคว้าถึงสรรพคุณของกระชายดำในบางด้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจก่อนบริโภคกระชายดำ ดังต่อไปนี้ # เสริมสร้างความแข็งแรงแก่สุขภาพ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่สุขภาพร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความอ่อนล้าหลังออกกำลังกายได้ กระชายดำเป็น 1 ในสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ด้วยความเชื่อว่าอาจเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันอาการอ่อนเพลียได้ จึงมีงานค้นคว้าหนึ่งที่พิสูจน์ประสิทธิภาพของกระชายดำโดยให้นักกีฬาฟุตบอล 60 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง กลุ่มแรกให้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ 180 มิลลิกรัมทุกวัน ในขณะที่อีกกลุ่มไม่ได้บริโภคสารสกัดจากกระชายดำ แล้วทดสอบสมรรถภาพร่างกายทุกเดือน หลังจากผ่านไป 3 เดือน พบว่าผู้ที่บริโภคสารสกัดจาก

ผลไม้แคลอรีสูง ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน

  # ผลไม้แคลอรีสูง ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน ผลไม้ทุกชนิดล้วนมีประโยชน์ แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จากประโยชน์อาจกลายเป็นโทษและทำให้อ้วนได้เช่นเดียวกัน เรามาดูกันดีกว่าว่าผลไม้แต่ละชนิดมีแคลอรีเท่าไหร่กันบ้าง เพื่อที่จะได้รับประทานอย่างพอดีค่ะ # health # vitamin4life # สุขภาพ cr. Rama Channel

5 วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายไม่ควรขาด

  # วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม # วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก โดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ # วิตามินเอ ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก # แคลเซียม แคลเซียมช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวไม่หวานจัด) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้